เครื่องดนตรีไทยภาคเหนือมีอะไรบ้าง

Northern-Thai-musical-instruments-news-site

เมื่อพูดถึงดนตรีในอดีตกาลของมนุษย์ นอกจากจะใช้เพื่อทำกิจกรรมบรรเลงรื่นเริงเพลินใจแล้ว จุดประสงค์ในการบรรเลงดนตรีในอดีต ก็มาจากการนำดนตรีนั้น เข้าไปประกอบกับพิธีกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นพิธีกรรมความเชื่อทางวัฒนธรรม หรือทางศาสนา ซึ่งเครื่องดนตรีในแต่ละประเทศ ในแต่ละภูมิภาคนั้น ต่างก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป สำหรับวันนี้ เราจะมาแนะนำให้คุณผู้อ่าน ได้ทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีไทยจากภาคเหนือ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเส้นทางดนตรีที่น่าสนใจไม่แพ้เครื่องดนตรีภาคอื่นๆ เลย

สะล้อหรือ ทะล้อ

จัดเป็นเครื่องสายประเภทหนึ่ง ใช้สายบรรเลงในการสี แหล่งกำเนิดเสียงทำจากกะลามะพร้าว นำมาผ่าครึ่ง และปิดหน้าด้วยแผ่นไม้บางๆ โดยมีช่องเสียงอยู่บริเวณด้านหลัง ไม้ที่นิยมนำมาสร้างเป็นเครื่องดนตรีชนิดนี้ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นไม้เนื้อแข็งอย่าง เช่น ไม้สัก เป็นต้น

ซึง

จัดเป็นเครื่องสาย ที่ใช้สายในการบรรเลงเพลงเฉกเช่นเดียวกันกับสะล้อ สำหรับไม้ที่นิยมนำมาสร้างเป็นเครื่องดนตรีชนิดนี้แนะนำว่าก็จะต้องเป็นไม้เนื้อแข็ง อย่างเช่น ไม้สัก ซึ่งได้รับความนิยมมาก อุปกรณ์ที่ใช้ในการดีด มักจะทำมาจากเขาสัตว์ที่นำมาเจียระไนเกิดความบาง สวนสายทำจากลวด หรือทองเหลืองก็ได้

ขลุ่ย

สำหรับขลุ่ยของไทยนี้จะเป็นขลุ่ยที่ใช้การแบ่งกระแสลม จนกระทั่งทำให้เกิดเสียง ซึ่งมีความแตกต่างจากขลุ่ยผิวแบบจีนและขลุ่ยของไทยเองนั้น ก็มีหลายขนาด เช่น ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ส่วนเสียงระดับกลาง คือขลุ่ยเพียงออ เสียงสูง คือขลุ่ยหลีบ โดยขลุ่ยจัดเป็นเครื่องดนตรี ที่จะขาดไปไม่ได้เลยในวงเครื่องสาย และวงมโหรี

ปี่

สำหรับปี่ของทางภาคเหนือนี้ มักจะเป็นปีประเภทลิ้นเดียว ซึ่งลิ้นนั้นจะใช้โลหะในการทำ มี 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ สามารถนำมาร่วมบรรเลงกับซึง และสะล้อได้อย่างไพเราะ

กลองสะบัดชัย

เป็นกลองที่ถือกำเนิดมานานนับศตวรรษ ในอดีตกาลนั้นจะใช้ในการตียามออกศึก เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสิริมงคล ตามความเชื่อของคนในสมัยโบราณ

ปี่แน

มีลักษณะคล้ายคลึงกับปี่ชวา betflik slot แต่มีขนาดใหญ่กว่า ทำจากไม้เนื้อแข็งและมีรูบังคับเสียง มี ๒ ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก มีขื่อเรียกว่าแนน้อยขนาดใหญ่เรียกแนหลวง

กลองเต่งถิ้ง

มีลักษณะเป็นกลองสองหน้า ผู้เล่นต้องนั่งบนพื้นเพื่อตีกลองชนิดนี้ทำจากไม้เนื้อแข็ง แต่ไม้เนื้ออ่อนก็นำมาทำได้เช่นกัน เช่น ขนุน ในส่วนของหน้ากลองขึงด้วยหนังวัว มีขาใช้ในการวางตัวกลอง  ใช้การบรรเลงนำมาผสม กับเครื่องดนตรีอื่นๆ เพื่อเป็นเครื่องดนตรีช่วยประกอบจังหวะ

กลองตึ่งโนง

เป็นกลองที่มีความอลังการ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้พบเห็น  มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยตัวกลองมีขนาด 3 – 4 เมตร ใช้ตีเป็นเพื่อสัญญาณประจำวัด รวมทั้งใช้ในขบวนแห่ กระบวนฟ้อนรำ ต่างๆ มักนำผสมผสาน กับตะหลดปด ปี่แน ฉาบใหญ่ รวมทั้งฆ้องหุ่ย ในยามตีต้องใช้ไม้ ใช้มือตีไม่ได้แน่

พิณเปี๊ยะ

บริเวณที่เป็นกะโหลกทำจากกะลามะพร้าว ในยามดีดให้ผู้เล่นนำกะโหลกติดไว้กับบริเวณหน้าอก พร้อมทั้งขยับเปิด-ปิด เพื่อให้เกิดเสียงท่วงทำนองตามต้องการ ในอดีตมักนำมาใช้ในการขับร้องพร้อมออกไปเกี้ยวสาวตามหมู่บ้าน ในยามราตรี แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้มีผู้เล่นได้น้อยมาก

ตะหลดปด

กลอง 2 หน้า ขนาดยาว 100 เซนติเมตร บริเวณหน้ากลองขึงด้วยหนัง หน้ากว้าง 30เซนติเมตร ด้านแคบขนาด20 เซนติเมตร ส่วนตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือเนื้ออ่อนก็ได้

สำหรับเครื่องดนตรีของภาคเหนือ ที่เราหยิบยกมาให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกันในวันนี้ เป็นเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น ความลึกล้ำของเครื่องดนตรีพื้นบ้านของไทยยังมีความน่าสนใจมากกว่านี้มากมายนัก