ประวัติเครื่องดนตรีไทย กลองยาว

drum

ถ้าพูดถึง ‘เครื่องดนตรีไทย’ ก็มีมากมายหลายชนิดและหลายประเภท ซึ่งในแต่ล่ะประเภทนั้นก็ให้ความรู้สึกในยามที่รับฟังแตกต่างกัน สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเอกลักษณ์ในเรื่องของความคึกคักในยามที่ได้รับฟัง ซึ่งเครื่องดนตรีชิ้นนั้นก็คือ ‘กลองยาว’ นั่นเอง

ความเป็นมาของ ‘กลองยาว’

จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดเสียงด้วยการตีด้วยมือ ตัวกลองทำมาจากไม้ มีรูปร่างกลมกลวง พร้อมขึงด้วยหนังหลายชนิด มีการวิเคราะห์กันว่ากลองยาวเป็นเครื่องดนตรี ที่ชาวไทยได้แนวคิดมาจากพม่า ในยุคกรุงธนบุรี หรือในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในยุคสมัยนั้นเป็นยุคที่ไทยและพม่ากำลังรบกัน โดยในยามพักรบ ทหารพม่าก็เล่นกลองยาวเพื่อนำมาใช้ในความบันเทิงกันอย่างสนุกสนาน ต่อมาชาวไทยก็นำมาสร้างพร้อมนำมาเล่นบ้าง หากแต่ในบางตำราก็เล่าว่า ความเป็นมาของกลองยาวเกิดการจากที่มีชาวพม่ากลุ่มหนึ่ง ได้นำกลองยาวเข้ามาเล่นในงานซึ่งมีขบวนแห่ ทำให้บรรยากาศงานเต็มไปด้วยความรื่นเริง สนุกสนาน บันเทิงใจ อีกทั้งยังมีการเล่นกันอย่างแพร่หลายไปในทุกแห่งหน โดยในวงดนตรีวงหนึ่ง ใช้เครื่องดนตรีอื่นๆ เข้ามาบรรเลงร่วมก็ได้ เช่น ฉิ่ง , ฉาบ , กรับ, โหม่ง เป็นต้น

ความเป็นมาของคณะกลองยาว

‘คณะกลองยาว’ หรือ ‘วงกลองยาว’ เป็นแนววงดนตรีที่มีชื่อเสียงโด่งดังและคนรู้จักไปทั่วประเทศอันเนื่องมาจากวงโปงลาง สะออน หากแต่ความจริงแล้วคณะกลองยาวถือกำเนิดในประเทศไทยของเรามาเป็นระยะเวลานานแล้ว หากแต่ก็เล่นตามภูมิภาคต่างๆ เท่านั้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ คณะกลองยาว ก็ได้มีการปรับปรุงพัฒนา พร้อมยกระดับประยุกต์รูปแบบการนำเสนอใหม่ๆ อยู่เสมอ เมื่อให้เท่าทันกับความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้ชม ซึ่งก็กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในภาคอีสาน โดยคณะกลองยาวมักใช้นำมาประกอบขบวนแห่ต่างๆ เพื่อสร้างความคึกคักสนุกสนาน

ในอดีตวงดนตรีเน้นแต่กลองยาว

คณะกลองยาว ที่เล่นตามหมู่บ้านในครั้งอดีต จะใช้กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีหลัก ซึ่งใน 1 วงสามารถใช้ได้ถึง 3- 5 ลูกเลยทีเดียว โดยไม่มีพิณหรือแคนเข้ามาประกอบการแสดงเหมือนดังเช่นในสมัยนี้ ซึ่งนักดนตรีก็จะใช้ ลวดลาย จังหวะกลอง เป็นเครื่องสร้างสีสัน และในอดีตคณะกลองยาวนี้ก็ยังไม่มีนางรำเข้ามาประกอบด้วย

ต่อมาเมื่อคณะกลองยาว ได้พัฒนาขึ้นตามกาลเวลา คราวนี้ก็กลายมาเป็นคณะกลองยาวแบบเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างตัวตนให้เจ้าภาพในงานต่างๆ สนใจและติดต่อมาว่าจ้าง บางคณะก็ได้เพิ่มจำนวนกลองมาก ให้แลดูอลังการขึ้น เช่น 10 ลูก / 15 ลูก / 20 ลูก เป็นต้น และใช้ผู้หญิงตีก็มีซึ่งสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้นได้อีกเยอะ หากแต่ในยุคนั้นก็ยังคงเป็นการโชว์กลองยาวอยู่ จึงยังไม่มีเครื่องดนตรีอื่นๆ เข้ามาประกอบ อีกทั้งก็ยังไม่มีขบวนนางรำ เพราะฉะนั้นผู้ตีกลองจะต้องสร้างความสนุกให้ผู้ชม ตีไปด้วย เต้นไปด้วยไปด้วย

ซึ่งคณะกลองยาว ณ ปัจจุบันนี้ ก็ได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด นำหลายๆ อย่างที่มีความบันเทิงมาประยุกต์ เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้น เช่น นำพิณ , แคน , อิเล็กโทน มาช่วยบรรเลงให้มีมิติทางด้านเสียงเพลงเพิ่มมากขึ้น ใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อให้เสียงเพลงดังไกล เนื่องจากแสดงบนเวทีขนาดใหญ่ มีขบวนนางรำสวยงาม อีกทั้งยังมีเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ในบางคณะยังมีการจัดรูปแบบขบวนซึ่งนำมาใช้ในขบวนแห่ต่างๆ เป็นต้น ทำให้กลองยาวยังเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ยังไม่ตาย และยังคงเป็นที่รู้จักของคนไทยในปัจจุบันนี้