เมื่อพูดถึงหนึ่งในเครื่องดนตรีพื้นบ้านของไทยแล้ว จะขาดฆ้องวงไปไม่ได้เลย โดยประวัติความเป็นมาของฆ้องวงใหญ่นี้ ได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องดนตรีหลักอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญไม่แพ้เครื่องดนตรีอื่น ๆ เลย และยังจัดเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีหลักของวงดนตรีไทย, วงมโหรี และวงปี่พาทย์อีกด้วย สำหรับรากเหง้าความเป็นมา ของฆ้องวงใหญ่นี้ มีการสันนิษฐานกันว่า น่าจะมาจากกลองมโหระทึก ซึ่งกลองมโหระทึกนี้ ก็ถูกค้นพบอย่างเป็นทางการ ในบริเวณทางตอนใต้ของประเทศจีน มณฑลยูนาน รวมทั้งประเทศเวียดนาม, กัมพูชา และประเทศไทยของเรา
ตำนานฆ้องวงใหญ่
ส่วนหนึ่งที่ทำให้นักโบราณคดีเชื่อว่า กลองมโหระทึกนี้ เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นรากเหง้าของฆ้องวงใหญ่ ก็เพราะว่าโลหะที่ใช้ในการสร้างเป็นชนิดเดียวกัน สำหรับโลหะที่ใช้ในการสร้างกลองมโหระทึกนี้ จัดเป็นชิ้นงานโลหะผสม เช่นเดียวกับฆ้องซึ่งยังใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ด้วย และนอกเหนือไปจากชิ้นส่วนเนื้อโลหะแล้ว จากการสำรวจทางวิวัฒนาการก็พบว่า เครื่องดนตรี 2 ชิ้นนี้ ยังจัดเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกันอีกด้วย แต่ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนหลายรูปแบบมาอย่างนานปี จนกระทั่งกลายมาเป็นรูปร่างของฆ้องวงใหญ่ดังเช่นในปัจจุบันนี้
สำหรับการพัฒนาแตกยอดกลายเป็นฆ้องวงใหญ่นี้ ได้รับการสันนิษฐานกันว่า น่าจะมาจากประเทศอินโดนีเซีย และถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว สำหรับฆ้องวงใหญ่นี้ จะประกอบด้วยลูกฆ้อง และวงฆ้อง โดยลูกฆ้องมีทั้งหมด 15 ลูกทำจากทองเหลืองทั้งชิ้น เริ่มจากลูกเล็กซึ่งอยู่ทางด้านขวาไล่มาจนกระทั่งเป็นลูกขนาดใหญ่ซึ่งอยู่บริเวณทางด้านซ้าย โดยรางที่ใช้ในการทำฆ้องวงนี้ คือ หวายโป่ง ซึ่งจะมีการเว้นที่ว่างตรงกลาง เพื่อให้นักดนตรีเข้าไปนั่งข้างใน พร้อมบรรเลงเพลงฆ้อง
ใช้ในการดำเนินเพลงเป็นหลัก
สำหรับฆ้องวงใหญ่นี้มีหน้าที่ใช้ในการตี เพื่อดำเนินทำนองเพลงเป็นหลัก โดยใช้ในการดำเนินทำนองเพลงหลัก ในรูปแบบผสมวงต่าง ๆ รวมกับวงปี่ภาคเครื่องคู่, วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่, วงมโหรีและอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะบรรเลงเป็นทำนองคลอกันไป กับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีท่อนโซโล่สำหรับฆ้องวงใหญ่ด้วย เพื่อแสดงทักษะ และความสามารถของนักเล่นฆ้องตัวจริงเสียงจริง
ส่วนประกอบของฆ้องวงใหญ่
- รางฆ้อง ทำจากต้นหวาย นำมาตัดเป็นเส้น 4 เส้น พร้อมทั้งดัดให้เป็นทรงวงกลม แต่จะเว้นที่ว่างตรงกลางไว้ขนาดพอเหมาะ
- ลูกมะหวด ทำมาจากไม้กลึงมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำเป็นลอนบริเวณด้านข้าง เพื่อรับกับต้นหวาย ยึดหลักโค้งตลอดทั้งวง
- คนคล้อง สำหรับในส่วนนี้ทำจากไม้หนา บริเวณตรงกลางนั้นมีลักษณะนูน ส่วนปลายเรียว แลดูคล้ายกับใบโพธิ์บริเวณด้านข้างนั้น ก็ปัดเรียงลง ใช้ทำหน้าที่ยึดติดกับหวายทั้ง 2 ข้าง โดยอีกข้างหนึ่งใหญ่ อีกข้างหนึ่งเล็ก
- ไม้ค้ำล่าง มีลักษณะเป็นไม้รูปทรงสี่เหลี่ยมแบน มีหน้าที่ใช้ยึดกับหวายคู่ล่าง มีระยะห่างกันเพียงพอสมควร แต่ในปัจจุบันนี้บางชิ้นงาน ก็ใช้แผ่นโลหะพร้อมตอกตะปู เพื่อเพิ่มความแข็งแรงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง
- ลูกฆ้อง คือส่วนที่ใช้ในการตีเพื่อทำให้เกิดเสียงต่าง ๆ ขึ้นมา โดยทำมาจากโลหะประเภทต่าง ๆ แต่ในสมัยโบราณนิยมใช้สำริด หรือ ทองแดงผสมดีบุก แต่ในปัจจุบันนี้นิยมใช้เป็นทองเหลือง นำมาขึ้นรูปให้สวยงาม มีกรรมวิธีผลิตหลายวิธีเช่น เช่น ถ้านำทองเหลืองนี้ไปตีจนทำให้เกิดรูปร่างขึ้นมา ก็จะเรียกว่าฆ้องตี แต่ถ้านำทองเหลืองเหลวหล่อลงในแม่พิมพ์ จะเรียกว่าฆ้องหล่อ บริเวณตรงกลางจะมีตุ่มนูนขึ้นมา เพื่อใช้เป็นจุดมาร์คตำแหน่งในการตี ในบริเวณนูนนี้เรียกว่าปุ่มฆ้อง