เมื่อเราพูดถึงเครื่องดนตรีของไทยที่มีประวัติยาวนาน หนึ่งในนั้นจะต้องมี “จะเข้” รวมอยู่ในกลุ่มด้วย เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจาก “พิณ” ด้วยการปรับเปลี่ยนมาใช้นั่งเล่นบนพื้น ประกอบด้วยสาย 3 เส้น เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในวง “มโหรี” นับตั้งแต่สมัยราชการที่ 2 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้น จนกระทั่งกระจับปี่ที่เป็นเครื่องดนตรี ซึ่งเคยเล่นคู่กันในสมัยนั้นลดความนิยมไปแทน เพราะไม่ค่อยมีคนนิยมเล่นมากเหมือนแต่ก่อน
จุดกำเนิดเครื่องดนตรีจะเข้
กล่าวกันว่าต้นกำเนิดต้นแบบของจะเข้ เป็นเครื่องดนตรีของชาวมอญ เพราะมันมีความคล้ายคลึงกับจะเข้โบราณที่ตั้งโชว์อยู่ในพม่า การตั้งชื่อของคนในสมัยก่อนคาดว่าคงกลัวเรียกเข้าใจผิดกับ “จระเข้” ที่เป็นสัตว์ ทำให้ได้ชื่อ “จะเข้” มาแทนเพื่อไม่ให้จำสับสน จึงกลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในตอนแรกมันใช้เล่นเพื่อความบันเทิงทั่วไปสำหรับชาวบ้านเท่านั้น
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เกิดความนิยมอย่างมากจนได้นำเครื่องดนตรีชนิดนี้เข้าไปรวมอยู่ในวงมโหรี ตอนนั้นเองที่ได้มีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดออกไปจากวงได้แก่ ระนาดแก้ว กับกระจับปี่ เพราะเป็นเครื่องที่เล่นแล้วเสียงดังฟังไม่ชัด วิธีเล่นก็ลำบากเพราะต้องตั้งขึ้น เวลาเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น แทบจะไม่ได้ยินอะไรเลย ทำให้ตัดสินใจนำออกไปในที่สุด และนำจะเข้มาแทน เพราะให้เสียงที่ดังฟังชัด ใช้วิธีเล่นด้วยการนั่งราบกับพื้น
ลักษณะของเครื่องจะเข้
ลักษณะของจะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน หรือ 2 ตอน ได้แก่ “หัว” กับ “หาง” วัสดุที่นำมาใช้ทำส่วนใหญ่คือ “ไม้ขนุน” ที่มีความหนาไม่ต่ำกว่า 10 – 12 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 50 – 52 เซนติเมตร กว้างประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร เมื่อรวมความยาวตั้งแต่หัวจนถึงส่วนหางจะอยู่ที่ประมาณ 130 เซนติเมตร ตัวสายจะโยงจากหัวมาจนท้าย 3 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นจะมีลูกบิดเป็นของตัวเองเพื่อปรับความตึง โดยสายเส้นแรกจะทำจากทองเหลือง ส่วนที่เหลืออีกสองเส้นทำมาจากเส้นเอ็น
วิธีการเล่นจะเข้จะใช้วิธีดีดเพื่อบรรเลงทำนอง ด้วยไม้ที่ทำจากกระดูกสัตว์ หรือพลาสติก ขนาดยาวไม่ต่ำกว่า 8 เซนติเมตร การจับไม้จะใช้นิ้วโป้งกับนิ้วกลางจับ เพราะจะมีความกระชับและให้กำลังได้ดีกว่าวิธีจับรูปแบบอื่น เล่นด้วยการแกว่งมือไปมาตามสายให้สัมพันธ์กับมือข้างที่กดสาย ปัจจุบันนี้จะเข้ถือเป็นเครื่องดนตรีที่นำไปใช้เล่นนำในวงมโหรี มีทำนองคล้ายคลึงกับระนาดเอก
ต้องขอขอบคุณข้อมูลที่ถูกจัดทำโดยทีมงาน gclub ที่สร้างสรรค์ผลงานอันมีค่าให้กับวงการดนตรีไทย เพื่อให้กลับมาเฟื่องฟูถึงวัฒนธรรมการสร้างสรรค์ ผลงานดนตรี