ประวัติเครื่องดนตรีไทย แคน
เครื่องดนตรีถือว่าเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศนั้น หากไม่นับเครื่องดนตรีสากลที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น กีตาร์ กลอง เบส ไวโอลิน เปียโน ฯลฯ ยังมีเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีกมากมายที่ให้เสียงไพเราะไม่แพ้กัน เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทยมีมากมายตามลักษณะภูมิภาคของประเทศ เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นต่างก็มีเอกลักษณ์ทั้งด้านรูปร่าง เสียง จังหวะด้วย แคน เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่รู้จักกันไปทั่วประเทศ เรื่องราวเกี่ยวกับแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ชนิดหนึ่ง แคนถือว่าเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ของประเทศไทย ไม่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น เลยขึ้นไปอย่าง สปป.ลาว แคนก็เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ จนนับว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติลาวไปอีกด้วย แคนนั้นตามประวัติไม่มีกำหนดการแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา รวมถึงชื่อด้วย ลักษณะของแคน แคนนั้นเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์มาก แค่มองเห็นตอนแรกก็จะรู้เลยว่า นี่คือแคน รูปร่างหน้าตาของแคนจะเป็นเหมือนการเอาไม้ท่อนขนาดเล็กมาประกอบกันเป็นคู่โดยไล่เรียงระดับความสูงต่ำลงไป ตรงกลางจะมีเต้าเป็นตัวประสานไม้ทั้งหมดเอาไว้ให้ไม่หลุดออกจากนั้น บริเวณปลายเต้าด้านหนึ่งจะปิดรูเอาไว้ ส่วนอีกด้านจะเป็นรูเพื่อให้ดูลมเข้าออกให้เกิดเสียง ประเภทของแคน แคนนั้นมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่แยกย่อยลงไปแตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่แคนหก เป็นแคนสำหรับผู้ฝึกหัด เป็นของที่ระลึกมากกว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเล่นจริงจัง ตัวแคนจะนับตามจำนวนคู่ไม้ที่ประกบกัน แคนเจ็ด แคนตัวนี้จะพัฒนาเรื่องเสียงขึ้นมาให้เป็นมาตรฐานดนตรีสากล มีครบทุกโน้ต 7 เสียง สามแคนแปดจะใหญ่กว่าแคนเจ็ด มีช่องเสียงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพิ่มคู่เสียงสูงขึ้นจุดเด่นของแคนแปดจะเอาไปใช้ในการเล่นเพลงพื้นเมือง ส่วนแคนเก้า และ แคนสิบ…